Voice assistant: The next step of future smart living.

2516
Athens, Greece - October 19 2018: Google home mini smart speaker with built in Google Assistant

“Hey Siri!”, “Ok Google!” หรือ “Alexa!” ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานด้วยเสียงในของเล่นราคาแพงที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น และจะเป็นผู้ช่วยที่พร้อมจะทำตามคำสั่งของคุณอย่างไม่ลังเล หรือที่รู้จักกันในวงกว้างว่า Voice Assistant 

แต่คุณเชื่อหรือไม่? อีกไม่นานสิ่งนี้จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเรา

Voice Assistant หรือผู้ช่วยส่วนตัวผ่านการสั่งงานด้วยเสียง ปัจจุบันแถบจะถูกติดตั้งอยู่ในมือถือ Smartphone รุ่นใหม่ในทุกยี่ห้อ ข้อมูลจาก Stategy Analytics พบว่าในปี 2019,  50% ของมือถือ smartphone มีระบบผู้ช่วยเสมือนมาพร้อมกับเครื่อง และจะเพิ่มขึ้น เป็น 90% ภายในปี 2023 อีดทั้งจะติดตั้งมาในรูปแบบของ smart speaker ตั้งโต๊ะขนาดเล็ก อย่าง Siri ใน Apple Home, Google Assistantใน google home และ Alexa ใน Amazon Echo โดยเป็นผู้ช่วยที่พร้อมจะดำเนินการตามคำสั่งของเราได้ทันที อย่างการ เปิดปิดไฟ ค้นหาข้อมูล แจ้งเตือนต่างๆให้เราทราบ ตลอดจนการทำหน้าที่สั่งจองร้านอาหาร เป็นต้น

โดยการเติบโตและพัฒนาทางด้าน voice technology อย่างต่อเนื่อง รวมกับศักยภาพที่มีของ AI (Atificial Intelligence) และ Machine Learning มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานแบบไม่รู้ระบุตัวตน ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและพัฒนาความเข้าใจภาษาของมนุษย์ได้ถูกต้อง แม่นยำ และมีความเป็นธรรมชาติสูงขึ้น Tractica (2018) มีการคาดการไว้ว่า การเติบโตของจำนวนผู้ใช้ Voice assitant จะเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 155 ล้านคนในปี 2017 เป็น 843 ล้านคน ในปี 2021 คิดเป็นอัตราการเติบโตในส่วนแบ่งตลาดสำหรับเทคโนโลยี เติบโตปีละ 35% ทำให้นอกจากที่จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับอุปกรณ์อย่างใน smartphone และ smart speaker แล้ว มีแนวโน้มที่จะถูกติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์ชนิดต่างๆ อย่าง รถยนต์ และ อุปกรณ์ IOT ภายในบ้าน

เสียง กับ การลดความสำคัญของหน้าจอ

ในยุคปัจจุบันที่ถึงแม้ Smartphone ยังถือเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยข้อมูลของ Hostingtribunal (2019) ระบุว่ายอดผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันปี 2019 กว่า 4,388 ล้านคน กว่า 90% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตในผ่านโทรศัพท์มือถือ แต่หากวิเคระห์ถึงกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในปัจจุบันเป็นกลุ่มของคนรุ่มใหม่ ซึ่งศักยภาพในการเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีอย่าง smartphone ได้ง่ายและเร็วกว่ากลุ่มผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ทำให้ความก้าวหน้าของ voice technology จะเข้ามาเป็น gamechanger ของการเข้าถึงผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกลุ่มใหม่ที่ไม่เคยใช้งาน smartphone มาก่อน สามารถเข้าถึง internet ผ่านการสิ่งงานด้วยเสียงผ่าน อุปกรณ์รูปแบบต่างๆ อธิเช่น Smart speaker, IoT device ใน smarthome

เนื่องจากเสียงนั้นถือได้ว่าเป็นธรรมชาติของการสื่อสารของมนุษย์ที่เรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ซึ่งเทคโนโลยี Voice assistant เองก็ไม่ได้อาศัยคำสั่งการที่ซับซ้อน แต่กลับใช้ภาษาสั่งงานที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารทั่วไป และด้วยความเป็นธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การเรียกใช้งานหรือการให้คำสั่งต่างๆ ทำได้ทันที ข้อมูลจาก comscore (2016) คาดการณว่าภายในปี 2020 กว่า 50% กของการค้นหาข้อมูลต่างๆในอินเทอร์เน็ต ผ่านทางการค้นหาด้วยเสียง และ กว่า 30% ของการค้นหาตังกล่าวทำได้โยไม่ต้องอาศัยการเปิดหน้าจอของอุปกรณ์

3 ปัจจัยที่ส่งเสริมการเติบโตของ voice assistant

  1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของการเติบโตของ smartphone ที่ผ่านมาเข้ามาทกแทนและอำนวยความสะดวกในกับผู้คนในหลายๆด้าน แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าการใช้งานของผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่เริ่มมีการเสพติดการใช้งาน ข้อมูลจาก Rescuetime (2018) กล่าวว่ายอดการใช้งานมือถือต่อวันสูงถึง 3 ชั่วโมง 15 นาที แต่สำหรับคนไทยข้อมูลจาก ETDA (2016) ระบุคนไทยใช้งานมือถือสูงถึง 6.2 ชั่วโมงต่อวัน นั้นทำให้เริ่มมีกลุ่มคนที่เห็นถึงข้อเสียของการใช้งานมือถือ smartphone การมากขึ้น และลดการใช้งานมือถือลง หรือที่เรียกว่า smartphone detox 

ประกอบกับพฤติกรรมการใช้ smartphone ในปัจจุบัน ใช้ในด้านการติดต่อสื่อสาร การค้นหาข้อมูล การสั่งซื้อสินค้า และเพื่อความบันเทิง เท่านั้น ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีอย่าง voice assistant ที่มีความสามารถสูงขึ้น จึงมีกลุ่มคนที่ปรับเปลี่ยนไปใช้การสั่งงานด้วยเสียงแทนการใช้งานมือถือแบบเดิม จากการสำรวจของ PwC พบว่า 61% ของคนในช่วงอายุ 25 ถึง 64 ปี มีความต้องการใช้งานอุปกรณที่การสิ่งงานด้วยเสียงเพิ่มสูงขึ้น

  1. บทสนทนาที่มีความเป็นธรรมชาติและเจาะจงรายบุคคล

การพัฒนาและเรียนรู้การใช้งานอยู่ตลอดเวลาของระบบใน voice assistant ทำให้ความเป็นธรรมชาติการการสนทนาและสื่อสารเพิ่มสูงขึ้น พัฒนาประสบการณ์การใช้งาน การสนทนาของผู้ใช้ ให้มีความใกล้เคียงกับการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันมากกว่าการเป็นเพียงแค่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการเรียกใช้งาน voice assistant ก็สามรถเรียกใช้งานผ่านคำสั่งเสียงได้ทันที่โดยไม่จำเป็นต้องมีการกดปุ่ม และสามารถสนทนาได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องเรียกใช้งานซ้ำ

นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้เฉพาะเจาะจงต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้งานในแต่ละคนให้มากขึ้น อย่าง google home สามารถรองรับผู้ใช้งานได้สูงสุด 6 คนและตรวจสอบเสียงที่ไม่ซ้ำกัน เรียนรู้ในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่น การเรียกดูตารางงาน และการวางแผนด้านการเดินทางให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละราย

  1. ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

จากรายงานของ Voicebot.ai (2018) ระบุว่า 19.7% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 47.3 ล้านคนมี Smart spearker ภายในบ้าน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่จะใช้งานในพื้นที่ส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตามมีเพียง 41% ของผู้ใช้งานที่มีความกังวลถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะการถูกดักฟังและเก็บข้อมูลโดยภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับความกังวลใน smartphone ที่มีสูงถึง 66% นอกจากนี้การชำระเงินด้วยเสียงจะมีความปลอดภัยและความสะดวกสะบายต่อผู้ใช้งานมากขึ้น ในการยืนยันตัวตน และ ID ของผู้พูด

อนาคตของ Voice assistant

จากจำนวนผู้ใช้งาน voice assistant ที่เพิ่มขึ้นทุกปี และการให้การยอมรับในการใช้งานระบบการสั่งงานด้วยเสียงที่มีความสะดวกสะบาย และอำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้ได้สูงขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้รูปแบบการใช้งานที่ซับซ้อนเหมือนกับ Smartphone จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ที่ว่าในอนาคตอันใกล้กลุ่มคนที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรือใช้ smartphone มาก่อนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจะสามารถเข้าถึงการใช้งานการสั่งการด้วยเสียงใน smart speaker, smart home device แทนที่จะต้องใช้มือถือแบบเดิม

นอกจากนี้ระบบ ecosystem ของ voice assistant จะสามารถเชื่อมต่อการใช้งานของผู้ใช้ในที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในบ้าน รถ หรือสถานที่ทำงาน แล้วยังมีความต่อเนื่องและความจำเพาะเจาะจงในความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน ตลอดจนการใช้เสียงในการยืนยันสำหรับการชำระเงินในการซื้อของแบบสังไร้เงินสดได้อีกด้วยนั้นทำให้เทคโนโลยีมีแนวโน้มที่จะเติบโตและเข้ามามีบทบาทหรือส่วนรวมของการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นไม่ช้า ก็เร็ว

ดังนั้น ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ลังเลที่จะเริ่มต้นใช้งาน voice assistant ผู้เขียนขอแนะนำเลยว่า ไม่เสียหายที่จะเรียนรู้และใช้งานมัน แล้วอีกไม่นานคุณอาจจะตกหลุมรักมันก็ได้ 

Reference 

ETDA. (2016, August 25). ETDA เผยคนไทยใช้เน็ตมือถือ 6.2 ชั่วโมงต่อวัน. Retrieved August 2, 2019, from https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9590000085024

Hostingtribunal. (2019, August 04). What Percentage of Internet Traffic Is Mobile in 2019? Retrieved August 6, 2019, from https://hostingtribunal.com/blog/mobile-percentage-of-traffic/

MacKay, J. (2019, April 05). Screen time stats 2018: How your phone impacts your workday – RescueTime. Retrieved August 2, 2019, from https://blog.rescuetime.com/screen-time-stats-2018/

Smartsheet. (n.d.). How Voice Assistants Are Changing Our Lives. Retrieved August 2, 2019, from https://www.smartsheet.com/voice-assistants-artificial-intelligence

 

บทความก่อนหน้านี้Sharing economy, the survival of future economy.
บทความถัดไปWho should take responsibility to monitor fake news?
Avatar
นักธุรกิจ Futurist อดีตนักเรียนทุนประเทศญี่ปุ่น มีความหลงไหลในการพัฒนาธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกันต้องสร้างผลในเชิงบวกให้แก่สังคม และสิ่งแวดล้อม