ในยุคนึงผู้คนต่างพากันอยากเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เพราะเชื่อว่าการถือครองทรัพย์สินมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งบ่งบอกถึงโอกาสเป็นที่ยอมรับทางสังคมมากชึ้นมากเท่านั้น จนเกิดเป็นบรรทัดฐานว่าคนรวย จะต้องเป็นคนที่มีทรัพย์สิน ที่ดิน บ้าน รถ หรือของใช้ราคาแพงต่างๆ สนับสนุนเกิดการจับจ่าย ซื้อ และลงทุน ทำให้เศรษฐกิจในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมาเติบโตขึ้นหลายเท่าตัว หรือที่รู้จักกันเป็นอ่างดีว่า เศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
ย้อนกลับไปในยุคเริ่มต้นของของเศรษฐกิจในยุคทุนนิยม เกิดขึ้นหลังยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมของยุโรป ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ในตอนนั้นเองการเข้ามาของทุนนิยมถือได้ว่าเป็นเเสงส่องทางรอดของเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดเสรีด้านการค้า ที่ซึ่งทุกสินค้าและบริการ สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้อย่างอิสระ ราคาของสินค้าและบริการถูกกำหนดด้วยกลไกของตลาด ตามความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งไม่โดนควบคุมโดยหน่วยงานหรือรัฐบาลกลางประเทศใด
โดยมีเป้าหลายสูงสุดคือเพื่อส่งเสริมการแข่งขันและสร้างกำไรสูงสุดแก่บริษัท หรือองค์กรนั้นๆ และเวลาก็ได้พิสูจน์แล้วว่าทุนนิยมเป็นระบบทางเศรษฐกิจที่สามารถทำให้เกิดการเติบโตมากที่สุด ซึ่งมีข้อสันนิฐานถึงการเติมโตดังกล่าวเป็นผลมาจาก สิทธิในการถือครองทรัพย์สินได้อย่างเสรี เร่งให้เกิดการแข่งขันและถือครองสินทรัพย์
ถึงแม้ทุนนิยมจะดูมีข้อดีอยู่มาก
แต่คำถามคือ ด้วยระบบทุนนิยมดังกล่าวเราจะเศรษฐกิจเราจะเติบโตต่อไปอีกได้หรือไม่
เพราะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือ ทุกครั้งที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย เราจะเริ่มเห็นผลร้ายที่เปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำ หรือปัญหาที่ฝังรายลึกอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลก
ทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนจนและคนรวยที่ห่างออกจากกันมากขึ้น หรือหนี้ต่อหัวประชากร หนี้สาถาระณะ รวมถึงการพิมพ์และอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ จนมักจะเกิดเป็นฟองสบู่ทางเศรษฐกิจ
หนึ่งในระบบที่ถูกอาจจะถูกออกแบบมาเพื่อก้ปัญหาเศรษฐกิจในรูปแบบทุนนิยม และเป็นที่พูดพูดถึงกันมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน คือ ระบบเศรษฐกิจ แบบแบ่งปัน (sharing economy) ระบบที่ไม่ได้มุ่งเน้นสู่กำไรสูงสุดสำหรับกลุ่มคนบางกลุ่มอีกต่อไป แต่เป็นใช้ความร่วมมือ เชื่อมโยง เข้าด้วยกันของบุคคลที่ส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ หรือที่เรียกว่า peer to peer (P2P)
4 บทบาทสำคัญของ sharing economy ต่อการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกิจ
- การเดินทาง
การเดินทางในรูปแบบเดิมนั้นถึงแม้จะมีอยู่หลากหลายวิธี อธิเช่น ระบบขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า texi และรถยนต์ส่วนตัว แต่ด้วยความเชื่อผ่านระบบเศรษบกิจแบบทุนนิยม ทำให้การซื้อ และใช้รถส่วนตัวเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม แทนที่จะมีเป้าหมายเพียวแค่การใช้สำหรับการเดินทาง โดยการเข้ามาของธุรกิจ แบบ Sharing economy อย่งเช่น Uber และ Grab เปิดโอกาสให้คนที่มีรถชนิดต่างและต้องการใช้เวลาว่างให้การหารายได้เพิ่มเติม กับกลุ่มคนที่ต้องการเดินทางในรูปแบบต่างๆ มาสามารถมาเจอกันได้ ไม่ว่าคุณอยากเดินทางด้วยรถแบบไหน อย่างก็จะมีบริการให้คุณได้
2. การอยู่อาศัย
ในทุกยุคสมัยบ้านถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงที่สุดของคนหลายๆคน และบางคนอาจจะมีบ้านหรือที่อยู่อาศัยมากกว่าหนึ่งแห่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่คุยจะไปยู่ในสถานที่เหล่านั้นพร้อมๆกัน ทำให้เกิดค่าเสียโอกาส และเป็นการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นในด้วยธุรกิจ แบบ sharing economy ทำให้เกิดโอกาสให้คนที่มีบ้านว่าง สามารถปล่อยเช้าให้กับคนที่ต้องการที่อยู่อาศัย อย่างบริษัทที่มีชื่อว่า homeaway
3. การทำงาน
การทำงานในยุคก่อนมีความเชื่อว่า จะต้องมีการเข้าออกงานเป็นเวลา และพนักงานจำเป็นต้องเข้ามาอยู่ในบริษัทเท่านั้น เพื่อที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บริษัทมากมายจำเป็นต้องการสร้างอาคาร โรงงาน หรือออฟฟิศสำหรับการให้พนักงานทำงาน ซึ่งมักจะเป็นการลงทุนที่มหาศาลและหลายครั้งอาจจะไม่ได้มีการนำเพื่อที่เหล่านั้นใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดการส่วนเปล่าในพื้นที่ใช้งาน และในปัจจุบันการเข้ามาของเทคโนโลยรที่ก้าวหน้าามากขึ้น เปิดโอาสให้คนไม่จำเป็นต้องอยู่ในบริเวณ หรือออฟฟิศที่บริษัทจะหาให้เท่านั้น และการเกิดขึ้นของธุรกิจที่เรียกว่า co-working space อย่างเช่น wework ซึ่งให้บริการด้านการจัดสรรพื้นที่สำหรับการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้หลายๆบริษัทเข้ามาใช้บริ้วณพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แทนที่จะเป็นต้องสร้างแยกกันในแต่ละบริษัท
4. การท่องเที่ยว
ด้วยแนวโน้นด้านการท่องเที่ยวในราคาประหยัดที่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องมีเงินเก็บจำนวนมากสำหรับการท่องเที่ยว ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักสำหรับการท่องเที่ยวหนึ่งครั้งจะมีอยู่ 3 ส่วนหลัก คือ ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารการกิน โดยการเข้ามาของธุรกิจแบบ sharing econmic หลักๆจะชัดเจในส่วนของ ที่พัก อย่าง
Airbnb ที่เปิดโอกาสให้คนที่มีห้อง หรือบ้านว่าง และพร้อมที่จะปล่อยเช้าเป็นรายวัน สามารถปล่อยให้เช้าสำหรับนักท่องเที่ยวได้โดยตรง และสำหรับธุรกิจการกินมี startup ไทยชื่อว่า eatigo ให้บริการคูปองส่วนลดสำหรับร้านอาหาร ซึ่งมักจะเป็นในเวลาที่ร้านอาหารนั้นคนน้อย ทำให้เปิดโอกาสให้ร้านสามารถมีลูกค้าเพิ่ม และในมุมมองลูกค้าก็สามารถได้รับประทานอาหารในราคาถูกลง
อย่างตัวอย่างที่ได้มีการกล่าวมาข้างต้น ถึงแม้อาจจะดูเหมือนว่าในปัจจุบัน sharing economy ก็ยังจำกัดอยู่ในเพียงแค่คนบางกลุ่ม หรือบางบริษัท และดุเหมือนว่าจะเป็นเพียงหนึ่งใน business model รูปแบบใหม่เท่านั้น ยังไม่ใช้การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโดยโครงสร้างในภาพรวมแต่อย่างไร แต่จริงๆแล้ว ด้วยแนวโน้นของหลักคิดของคนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้ยึดติดต่อสิ่งของหรือสถานที่ว่าต้องซื้อเป็นทรัพสินย์ และต้องซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เน้นดารลงทุนในการสร้างประสบการณ์ต่างๆแทน กลายเป็นแรกงผลักและปัจจัยสำคํย ที่จะช่วยให้ sharing economy ในอนาคตเข้ามาแทนที่ระบบ capitalism ในรูปแบบเดิม ป้องกันการแข่งขันที่นำพาไปสู่หายนะความล้มเหลวทางด้านเศรษบกิจในที่สุดให้หมดไปในยุคอนาคตใหม่
อีกทั้งการก้าวเข้ามาสู่ sharing economy จะก่อให้เกิด network effect ในหลายๆอุตสาหกรรมที่เชื่อมต่อผู้คนเข้าโดยกัน ลดการใช้หรือซื้อของที่ไม่ได้ใช้ หันกลับมาใช้วิธี ร่วมกัน แบ่งปัน หรือเช่าในการใช้งานแทน เกิดเป็นผลดีต่อระบบสิ่งแวดล้อมของโลก เมื่อมีการลดกาซื้อ ตะส่งผลให้ในภาคการผลิตลดการผลิตสินค้าออกมาเกิดความจำเป็น ลดต้นทุน และลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่ก่แนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ซึ่งระบบเศรษฐกิจแบบแบ่งปันนี้จะส่งผลดีต่อทั้งตัวเราเอง และโลกที่เราอยู่