Plastic Pollution Crisis

2262
Shanties on stilts standing on garbage-filled river

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในโลกที่เราใช้ชีวิตอยู๋ปัจจุบัน ในรัศมี 5 เมตร รอบตัวคุณต้องมี“ขยะ”อย่างน้อยหนึ่งชิ้น โดยเฉพาะในตัวเมือง หรือบางครั้งก็ไม่เว้นแม้จะเป็นในพื้นที่ป้าเขา หรือ กลางทะเล นับได้ว่า เป็นสิ่งปฏิกูลผลพวกจากความไร้สำนึกของคน

ถึงแม้โลกจะมีเทคโนโลยีที่พัฒนาไปรวดเร็วมากเพียงใดแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาขยะได้อย่างยั่งยืน ปัญหาขยะนับไว้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่จะส่งผลโดยตรงต่อสภาพแวดล้อมและโลกของเราในระยะยาวจนองค์กรสหประชาชาติ หรือ UN ประชาติให้เป็นหนึ่งในปัญหาระดับโลก โดยปัจจุบันมีการผลักดันให้กว่า 60 ประเทศมีความร่วมมือห้ามใช้หรือเก็บภาษีถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่ลดปัญหาขยะได้

จากรายงานของ world economic forum ระบุว่ากว่า 8% จากกระบวนการผลิตน้ำมัน ถูกใช้ในการผลิตพลาสติก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายในปี 2050  และในบรรดาพลาสติกเหล่านั้น 40% เป็นการผลิตพลาสติก กลุ่ม packaging และถุงพลาสติกที่ใช้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น รวมแล้วมากกว่า 161 ล้านตันทั่วโลก โดยในจำนวนที่ถูกผลิตขึ้นมามีเพียง 5% จากค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ถูกนำมา recycle โดยประเทศในกลุ่มยุโรปสามารถนำมา recycle ได้สูงสุดถึง 30% รองลงมาเป็นประเทศจีนที่ 25% และอเมริกาเพียงแค่ 9%

อีกทั้งหากย้อนดูถึงการเติบโตของการผลิตของขยะพลาสติกทั่วโลก ตั้งแตปี 1950 ถึงปี 2015 จะพบว่าในปี 1950 การผลิตทั่วโลกมีจำนวนเพียง 2 ล้านตันต่อปี แต่ในปี 2015 กลับมีจำนวนมากถึง  381 ล้านตัน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงขึ้นถึง 200 เท่า โดยจำนวนการผลิตพลาสติกทั่วโลกสะสมได้จำนวน 7.8 พันล้านตัน ใกล้เคียงกับจำนวนประชากรโลกในปัจจุบัน คิดเป็นในทุกๆ 1 คนจะเทียบเท่าขยะ 1 ตัน

นอกจากนี้ผมเสียจากขยะพลาสติกไม่ได้เพียงแค่ส่งผลกระทบกับมนุษย์เพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งบนบกและในทะเลเป็นวงกว้าง ขยะกว่า 9 ล้านตันถูกทิ้งลงทะเลในทุกๆปี ข้อมูลจาก our world in data ระบุว่า ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่แม่น้ำและไหลไปสู่มหาสมุทร มาจากโซนทวีปเอเชียมากที่สุดคิดเป็น 86% ตามด้วยแแอฟฟลิกา และอเมริกาได้เพียง 7.8% และ 4.8% ตามลำดับ

5 ผลกระทบสำคัญจากขยะพลาสติก

  1. ผลกระทบต่อตัวมนุษย์เอง

กรรมวิธีของการผลิตพลาสติกนั้นถูกผลิตขึ้นจากเมล็ดพลาสติกที่มีส่วนประกอบสำคัญ คือ ปิโตเลี่ยม ประกอบกับการใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดรูปแบบของพลาสติกที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งถึงแม้สารปนเปื้อนเหล่านี้จะยังไม่ถูกจัดเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของระบบสาธารณสุข และยังไม่มีการชี้ชัดต่อผลกระทบจากพลาสติกต่อสุขภาพ แต่บ่อยครั้งที่หากนำพลาสติกบางชนิดไปใช้ผิดวิธีจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่อาจจะปนเปื้อนออกมาและส่งผลต่อมนุษย์ได้ อย่างเช่น การนำถุงพลาสติกที่ไม่ป้องกันความร้อนใส่อาหาร หรือเครื่องดื่นชนิดร้อน อาจจะส่งผลถึงการปนเปื้อน และอาจจะสะสมจนเป็นต้นตอของโรคเรื้อรังต่างๆได้

2.  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเพิ่มขึ้นของการมลพิษขนะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการทิ้งขยะและการกำจัดที่ไม่ถูกต้องส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยตรง ซึ่งเกิดจากพลาสติกนั้นมีคุณสมบัติที่คงทนต่อการย่อยสลายของจุลินทรีย์ธรรมชาติ บางการศึกษาระบุว่าการย่อยสลายตามธรรมชาติของพลาสติกบางชนิดอาจจะใช้เวลาในการย่อยสะลายมากกว่า 100 ปี อีกทั้งยังอาจจะส่งผลสู่การปนเปื้อนของสารพิษลงสู่พื้นดิน ส่งผลต่อการเสื่อมสภาพของคุณภาพดินและน้ำ เป็นผลเสียต่อสัตว์และระบบนิเวศใกล้เคียง

3.  ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

การกำจัดขยะด้วยวิธีการเผาทำลายก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซพิษอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาขยะพลาสติกนั้นจะกลายเป็นมลพิษที่กระจายอยู่ในอากาส ซึ่งจะเป็นอัตรายต่อมนุษย์โดยตรงหากมีการสูดดมเข้าไป เพิ่มความเสี่ยงในโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจ อย่างที่เห็นในตัวอย่างของปัญหามลพิษที่ผ่านมา ใน PM 2.5 ที่จะส่งผลเสียกับร่างกายมนุษย์โดยตรงเพียงแค่สูดเดาเข้าไปในเวลาเพียงไม่นาน

4.  ผลกระทบที่ส่งผลต่อทะเล

ขยะพลาสติกส่วนมากที่พบในมหาสุทรนั้น ไม่ได้มีแค่ขยะชิ้นใหญ่ที่ถูกทิ้งลงไปเท่านั้น เพราะเมื่อระยะเวลาผ่านไปพลาสติกที่ไม่ได้ย่อยสลายแต่กลับกลายเป็นขยะขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า microplastic ที่มีขนาดเล็กมากกว่า 5 มม. อาจจะส่งผลให้สัตว์ทะเลหลายชนิด รวมถึงปลาที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ รับเข้าไปในร่างกายโดยไม่รู้ตัวจากกระบวนการหายใจด้วยเหงือกที่ต้องดูดน้ำทะเลเข้าไป ซึ่ง microplastic เหล่านี้ที่ไม่สามารถย่อยสะลายได้ อาจจะกลายเป็นสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในกระแสเลือดของสัตว์ทะเล และเมื่อมนุษย์นำสัตว์ทะเลเหล่านี้มาประกอบอาหารเท่ากับว่าเรากำลังรับ microplastic เหล่านี้กลับเข้าสู่ร่างกาย ส่งพบเสียต่อการเกิดโรงร้ายแรงได้

5.  ผลกกระทบต่อสัตว์

ขยะพลาสติกที่ถูกกำจัดด้วยวิธีผิดๆ อย่างการทิ้งลงไปในแม่น้ำ มหาสุทร หรือพื้นที่ป่าไม้ ล้วนสร้างผลกระทบโดยตรงกับสัตว์ในพื้นที่ ทั้งอาจจะกีดขวางหรือลุกล้ำที่อยู่อาศัย ตลอดจนอาจจะสร้างความเข้าใจผิดว่าเป็นพืชหรืออาหารในธรรมชาติ เมื่อสัตว์ที่กินเข้าไปขยะพลาสติกเหล่านี้จะไปอุดตันทางเดือนอาหารของสัตว์ จนปิดกันทางเดินอาหาร อุดตัน และไม่สามารถขับถ่ายออกได้จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในเต่าทะเลที่มีการเสียชีวิต หลายครั้งจากการผ่าพิสูจน์พบว่าต้นเหตุการเสียชีวิตมักเกิดจากพลาสติกที่อุดตันอยู่เต็มกระเพาะอาหาร หรือหลายครั้งพบว่ามักจะพัวพันติดกับอวนจากการทำประมง 

จากผลกระทบทั้ง 5 กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าเพียงแค่ถุงพลาสติกเพียงแค่หนึ่งถุงก็อาจจะส่งผลเสียกระจายออกเป้นวงกว้างได้ โดยส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ ดังนั้นปัญหาของขยะพลาสติกนอกจากหาแนวทางการกำจัดอย่างถูกวิธีแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือหยุดและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดขยะพลาสติก รวมถึงเป็นหน้าที่ของคนทุกคน ในฐานะประชากรโลกที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

 4 นิสัยที่ควรทำเพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติก

  1. การเลิกใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งอย่างเด็ดขาดอย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหามลพิาจากขยะพลาสติก ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการใช้ ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณการผลิดโดยตรงเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุด
  2. การใช้การถุงผ้า หรือการนำถุงพลาสติกที่มีอยู่แล้วมาใช้ซ้ำ ในการใส่ของหรือการไปซื้อของตามห้าง และ  supermarket
  3. การมีกระตักน้ำ และกล่องใส่ข้าวส่วนตัว เพราะนอกจากขยะถุงพลาสติกแล้ว แก้วกาแฟ กล่องโฟม และกล่องใส่อาหารก็เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของขยะดังนั้น ก็มีกล่องหรือกระติกส่วนตัวจะช่วยลดการใช้พลาสติกในส่วนี้ได้
  4. การขัดแยกขยะพลาสติก ออกจากขยะประเภทอื่นๆ วิธีนี้นอกจากงานที่จะนำไปกำจัดแล้ว ยังสามารถนำไปขายเพื่อแลกเป็นเงินกลับมาได้
บทความก่อนหน้านี้The use of blockchain in credit scoring
บทความถัดไปSharing economy, the survival of future economy.
Avatar
นักธุรกิจ Futurist อดีตนักเรียนทุนประเทศญี่ปุ่น มีความหลงไหลในการพัฒนาธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกันต้องสร้างผลในเชิงบวกให้แก่สังคม และสิ่งแวดล้อม