โลกนี้ไม่ใช่เป็นของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” เพียงผู้เดียว
อย่าลืมว่าแต่เริ่มทีโลกก่อนที่จะมีมนุษย์นั้น สิ่งมีชีวิตอาศัยและพึ่งพาอาศัยกันด้วยห่วงโซ่และสมดุลของธรรมชาติ มีวัฏจักรการเกิด การเป็นห่วงโซ่อาหาร พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” ถือกำเนิดและวิวัฒนาการเรื่อยมา จนเริ่มมีแนวคิดการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ พื้นที่ที่มีอยู่ในธรรมชาติ
เข้ามาเบียดเบียนห่วงโซ่อาหาร ปล่อยของเสีย และขยะไปทำลายสิ่งแวดล้อม และส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตอื่นอีกนับหมื่นนับแสนสายพันธ์ุ ไม่เว้นแม้แต่สิ่งมชีวิตในมหาสมุทร
นี่อาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเข้าใจและตระหนักถึงภัยที่มนุษย์ได้ก่อขึ้น และเริ่มเปลี่ยนแปลงก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้ไข้ โดยเฉพาะจากข่าวการสูญเสีย น้องมาเรียม พยูนวัย ปี ที่เป็นที่รักของชาวบ้านในระแวกนั้น รวมทั้งหากย้อนดูภายในหนึ่งปีจะพบว่าสูญเสียพะยูนไปแล้วกว่า 17 ตัว นี่อาจจะเป็นตัวเลขที่ไม่เยอะมากสำหรับใครหลายคน แต่ในความเป็นจริงหากเปรียบเทียบกับจำนวนพะยุนที่มีอยู่ในประเทศไทยเพียงแค่ 200 ตัว นั้นเท่ากับว่าประชากรของพะยูนนั้นตายไปราว 20% และหากเทียบกับสัดส่วนประชากรไทยราว 70 ล้านคน นั้นเท่ากับว่า การส่วนเสียพะยูนครั้งนี้ เท่ากับสูญเสียประชากรไทยไป 14 ล้านคน
นอกจากพะยูนแล้วยังมีสัตว์น้ำอีกหลายชนิดที่มีความสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ระบบว่าจากการพิจารณาผ่าน พ.ร.บ. สงานคุ้มครองสัตว์ ส่งผลให้เต่ามะเฟือง วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ และฉลามวานได้รับการบรรจุเป็นสัตว์สงวน ตามข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า วาฬบรูด้าเหลือประมาณ 65 ตัว วาฬโอมูระ 15-20 ตัว ฉลามวาฬไม่เกิน 100 ตัว และเต่ามะเฟือง ที่ไม่สามารถรงสอบจำนวนแน่ชัดได้ แต่จากการสำรวจพบว่ามีปริมาณการวางไข่น้อยมาก จากข้อมูลประชากรของสัตว์ทะเลทั้ง 4 ชนิดแสดงให้เห็นว่าล้วนมีปริมาณน้อยกว่าพะยูนที่มีจำนวนประชากรประมาณ 200 ตัว
โดยการถูกบรรจุเป็นสัตว์สงวนนั้น จะทำให้สามารถบังคับใช้กฏหมายในการคุ้มครองและมีบทลงโทษที่หนักขึ้นสำหรับผู้ที่ผ่าฝืน มีโทษปรับ 3000,000-1,500,000 บาท จำคุก 3–15 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่หลายครั้งการใช้กฏหมายอาจจะเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุเท่านั้น หากต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเช่นนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกทั้งต้องช่วยกันกระตุ้นให้คนมีจิตสำนึกในการรักษ์ท้องทะเลไทยและสัตว์ทะเลหายากของไทยไว้
3 สาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายาก
- การเกยตื้น
การเกยตื้นเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของเต่าทะเลและพะยูน คิดเป็น 74-89% แต่ต้นเหตุของการเกยตื้นหลายครั้งไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาิตของสัตว์ แต่เกิดจากการป่วยจากการกินพลาสติกเข้าไปทำให้เกิดอาการอักเสบ หรือเป็นดรคจนไม่สามารถต้านทานกระแสน้ำได้จนถูกพัดเข้าหาชายฝั่งในที่สุด และอีกสาเหตุหลักเกิดจากการถูกเครื่องมือของชาวประมง ได้แก่อวนลอย ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมง ไล่ต้อน ทำให้ต้องหนีขึ้นมาบริเวณน้ำตื้น ซึ่งง่ายที่จะถูกพัดเข้าหาชายฝั่งขณะหลับได้ แต่ปัญหาขยะเป็นสาเหตุการเกยตื้นที่มีแนวโน้มของปัญหาเพิ่มขึ นทุกปี ค่าเฉลี่ยของเต่าทะเลและโลมาที่กลืนขยะและเข้าไปสะสมอยู่ในระบบทางเดินอาหารมีร้อยละ 2-3 ตลอดจนในสัว์ชนิดอื่นๆ อย่างพะยูนและปลา เนื่องจากมีความสับสนกับอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
2. การทำประมง
การทำประมงแบบผิดกฏหมายหลายครั้งไม่ได้เลือกวิธีการ มีเพียงจะคิดแต่ว่าจะทำยังไงให้ได้กำไร หรือ จัดสัตว์น้ำให้ได้มากที่สุด มีการใช้อวดที่มีตาข่ายเล็กและเหนียวเป็นพิเศษ ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามหลักต่อชีวิตพะยูน และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆได้ เพราะอวนเหล่านี้ทำให้พะยูนว่ายน้ำเข้าไปติดจะไม่สามารถหลุดออกมาได้ เกิดอาการช็อคและจมน้ำตายในที่สุด จึงต้องมีการจัดระเบียบเส้นทางการวิ่งของเรือประมงอยู่เสมอ และออกมาตรการการตรวจสอบ ตรวจตาความเรียบร้อยของการทำประมง แต่อย่างไรก็จามสิ่งสำคัญคือการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประมงไทย ถึงความสำคัญที่จะต้องอนุรักษ์สัจว์เหล่านี้ไว้ และสร้างความร่วมมือกับคนในลุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงให้ช่วยกันจับตาตรวจสอบอย่างใกล้ชิด
3. ปัญหาขยะ
ด้วยพฤติกรรมของคนปัจจุบัน มีการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาขยะ โดยเฉพาะเมื่อขยะพลาสติดเหล่านี้กล่อนลงไปจะก่อให้เกิด microplastic ที่จะเป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิต และอาจจะเป็นพิษเนื่องจากการปนเปื้อนของสารพิษ จนเป็นสาเหตุการตายของมาเรียม และสัตว์ทะเลอีกหลายชนิด
รายงานจากองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ระบุว่า ประเทศในอาเซียนมีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากสุดในโลก พบการทิ้งขยะพลาสติกมากกว่า 8 ล้านตัน มาจากประเทศจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย ซึ่งไทยถือได้ว่าเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศที่มีการทิ้งขยะลงในทะเลสูงสุด คิดเป็น 2 ล้านตันของปริมาณขยะทั้งหมด
และยังเห็นได้ว่าเห็นได้ว่าการรณรงค์ช่วยกันให้มีการลดใช้พลาสติกนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนไทยยังมีพฤติกรรมในการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวัน ดังนั้นหากยังไม่สามารถหาวิธีแก้ไขให้เป็นผลสำเร็จได้จะส่งผลให้ขยะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของสัตว์ทะเลได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ปัญหาการสูญเสียของสัตว์ทะเลที่เหลือจำนวนน้อยเต็มที และอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์นั้นควรเป็นหนึ่งในปัญหาที่ควรได้รับการช่วยเหลือย่างจริงจังและควรจัดเป็นหนึ่งในปัญหาระดับชาติ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรที่จะรอให้หน่วยงานหรือภาครัฐต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว เพราะในความเป็นจริงแล้วปัญหานี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกคน
เริ่มตั้งแต่ในส่วนของครัวเรือนและผู้บริโภค ช่วยกันให้ความสำคัญต่อการลดขยะพลาสติก ด้วยที่ที่การเเยกและปฏิเสธการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง รวมถึงในแง่ของการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการท่องเที่ยวในกลุ่มเชิงอนุรักษ์ที่จะเข้าไปเป็นอีกอรกหนึ่งของการช่วยเหลือในชุมชนต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย และอาจจะส่งผลต่อระบบนิเวศ
Reference
https://thailand.ureport.in/story/374/
https://thailand.ureport.in/story/374/
https://www.thaipost.net/main/detail/535
https://news.thaipbs.or.th/content/283257
https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/feb2559-7.pdf
https://www.sanook.com/news/7868166/