Food delivery, is it good or bad?

2348

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ คนเราเริ่มที่จะรักความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการขยายตัวของธุรกิจ delivery อย่างก้าวกระโดน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียมที่มี ecosystem ที่เอื้อต่อธุรกิจนี้ ทั้งความเป็นที่นิยมของการมีรถมอเตอร์ไซด์ในครอบครอง และการเติบโตของการใช้มือถือ smartphone

แต่ในความจริงธุรกิจ deliveryนี้อาจกำลังจะสะท้อนปัญหาความเสื่อมโทรมทางสังคมในหลายๆด้าน สะท้อนสภาวะของคนยุคใหม่ที่นิยมการอยู่คนเดียวมากขึ้น หลีกเลี่ยงการออกไปเจอผุ้คนด้านนอก และความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนจากความสะดวกสบายเกินความจำเป็น รวมทั้งเป็นการเพิ่มขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดเลย 

จากการทำงานวิจัย ของวิทยาลัยการจัดการ มหาลัยมหิดลได้ทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1200 ตัวอย่างใน 4 กลุ่มอายุตั้งแต่  Baby boomers จนถึง Gen z ในการวิเคราะห์พฤติกรรมความขี้เกียจ ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของธุรกิจ food delivery จากพฤติกรรมความขี้เกียจ ด้าน 1. การรอคิวซื้อของ  81% การทำอาหาร 69% การออกไปซื้อของ 64% การเดินทาง 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธุรกิจจัดส่งอาหารไปยังแหล่งที่พัก (Food Delivery) ในปี 2562 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 33,000 – 35,000 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องราวร้อยละ 14 จากปีก่อน และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของมูลค่าธุรกิจร้านอาหารของประเทศไทยในปี 2562 

 ความนิยมของผู้บริโภคต่อธุรกิจการจัดส่งอาหารไปยังแหล่งที่พัก (Food Delivery) สะท้อนให้เห็นได้จากผลสำรวจโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63 คิดว่าการมีบริการสั่งอาหารผ่าน Application ประเภทต่างๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของตน โดยทำให้เปลี่ยนมาสั่งอาหารผ่าน Application มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงทำให้มีการออกไปนั่งรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลงอีกด้วย

ดังนั้นทุกการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารผ่านธุรกิจ delivery นั้นคือจุดเริ่มต้นของการทำลายสังคม และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปัญหาขยะล้นโลก

3 ภัยร้ายจากธุรกิจ delivery

  1. จ่ายแพง เพื่อให้ได้ถูก

หากคุณเคยทานอาหารมื้อละ 100 บาทในร้านอาหาร เพียงไม่กี่นาทีคุณก็จะได้รับประทานอาหารที่เสริฟมาในจากอุ่นๆ และน่าทาน ทำให้คุณได้มีความสุขกับมื้ออาหารนั้น แต่กลับกันสำหรับการสั่งอาหารด้วย food delivery แน่นอนว่า ด้วยความสะดวกทำให้คุณสามารถสั่งอาหารมาทานที่บ้านของคุณได้ แต่นั้นตามมาด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น อย่าง ค่าขนส่งตามระยะทาง อาจจะขึ้นไปถึง 50-60 บาท ซึ่งการจ่ายนี้ ไม่ได้เพิ่มคุณค่าใดให้กับมื้ออาหารนั้นของคุณเลย ข้าวที่สั่งก็อาจจะได้ปริมาณน้อยลงตามกล่องบรรจุภัณฑ์ อาหารที่อุ่นน่ารับประมาณ ก็เริ่มที่จะเย็นชืด และหากวันใดวันหนึ่งที่บริษัทไม่ออกเงินช่วยเหลือส่วนลดค่าจัดส่งอีกต่อไปนั้น จะทำให้ค่าขนส่งสูงขึ้นไปอีกมาก ดังนั้นเพียงแค่เพื่อความสะดวก อาจจะเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มค่าก็เป็นได้

2. ส่งเสริมการสร้างขยะพลาสติก

ข้อมูลจาก Grab ประเทศไทยเปิดเผยว่า เพียงแค่ 4 เดือนเรกของปี 2562 มีจำนวนการสั่งอาหารรวมทั้งสิ้น 4 ล้านออเดอร์ ซึ่งมากกว่ายอดการสั่งอาหารปีที่ 2561 ที่มีเพียง 3 ล้านออเดอร์ จำนวนนี้สำหรับในมุมของธุรกิจอาจจะดูเหมือนว่าเป็นการเติบโตอยย่างก้าวกระโดด แต่ในมุมกลับกัน นั้นหมายถึงจำนวนขยะมหาศาลที่เพิ่มขึ้นมาในแต่ละปี โดยแทบไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากจิตนาการว่าในทุกออร์เดอร์มีการสั่งข้าวหนึ่งกล่อง ในการส่ง food delivery นั้นจะประกอบไปด้วย กล่องพลาสติก ช้อนพลาสติก และถุงพลาสติก นั้นเท่ากับว่าใน 4 เดือนที่ผ่านมาจะต้องมีขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นมามากถึง 12 ล้านชิ้นในระยะเวลาเพียงแค่ 4 เดือนนี้ยังไม่รวมถึง ในความเป็นจริงในหนึ่งออร์เดอร์ต้องมียอดการสั่งไม่เพียงแค่หนึ่งอย่างแน่นอนและไม่นับรวมกับอีก 6 food delivery ไม่ว่าจะเป็น Food panda, Get!, Line man, Lalafood  เป็นต้น คำถาม คือ เพื่อความสะดวกสะบายในชีวิตของเรา เราจำเป็นต้องสนับสนุนให้มีขยะเพิ่มขึ้นเชียวหรือ?

3. สร้างเศรษฐกิจ และความเชื่อแบบผิดๆ

แน่นอนว่าการเข้ามาของธุรกิจ Food delivery ทำให้เกิดความต้องการในการจ้างงานสำหรับคนในการส่งของมากขึ้น สร้างงานสร้างรายได้ให้กับผู้คน แต่ในขนาดเดียวกัน มันอาจจะเป็นคลื่นได้น้ำ ที่รอวันประทุอยู่ หากลองสังเกตุถึงงบการเงินของบริษัทในกลุ่ม food delivery ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาวะขาดทุนสะสม เนื่องด้วย business model ในรูปแบบนี้ง่ายมากที่ลูกค้าหรือผู้ซื้อจะเปลี่ยนไปใช้บริการคู่แข่งหากเห็นว่าอัตราขนส่งของที่ไหนถูกกว่า นั้นทำให้บริษัทเหล่านี้ต้องมีการอัดฉีดเงินทุนอย่างมหาศาลในการเป็นส่วนลดค่าขนส่งให้กับลูกค้า โดยเงินส่วนใหญ่ก็มาจากการระดมทุนจากนักลงทุนไปเรื่อยๆ และหากวันหนึ่งนักลงทุนกลุ่มนี้ตัดสินใจไม่ไปต่อกับธุรกิจเหล่านี้ อาจจะทำให้ธุรกิจเหล่านี้พังลงได้อย่างรวดเร็ว และส่งผมกระทบต่อคนที่อยู่ ecosystem นี้อย่างมหาศาลโดยฌฉพาะคนส่งของ

จากภัยที่เกิดจากผลพวงของธุรกิจ Food delovery นั้นส่งผลทั้งภาระค่าใช้จ่ายต่อผู้บริโภค ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติก และการสร้างงานที่มีโอกาสที่จะไม่ยังยืน รวมถึงดารไม่ได้สร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นเราในฐานะผู้บริโภคควรตระหนักทุกครั้งในการใช้บริการเหล่านี้ นั้นทำไปเพื่อความจพเป็นในบางสถานะการ หรือความขี้เกียจส่วนตัว ซึ่งถ้าเป็นอย่างหลังนั้นควรจะหลีกเลี่ยงให้ได้มากที่สุด

Reference

https://www.thenewsminute.com/article/how-tap-and-order-food-apps-could-be-destroying-our-diet-and-health-59683

https://impos.com.au/blog/food-delivery-apps-pros-cons/

https://matadornetwork.com/read/food-delivery-ruining-world/

 

บทความก่อนหน้านี้Global ocean crisis
บทความถัดไป5G, the world connected
Avatar
นักธุรกิจ Futurist อดีตนักเรียนทุนประเทศญี่ปุ่น มีความหลงไหลในการพัฒนาธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ในขณะเดียวกันต้องสร้างผลในเชิงบวกให้แก่สังคม และสิ่งแวดล้อม